มะเร็งรังไข่ ภัยร้ายที่ผู้หญิงควรรู้

โรคมะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่อันตราย
ให้เราเลือกประกันที่เหมาะสมกับคุณผ่านไลน์ ปรึกษาผ่าน LINE

รู้หรือไม่ว่า? ปัจจุบันโรคมะเร็งยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในประเทศไทย

โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงนอกจากโรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งปากมดลูกแล้ว โรคมะเร็งรังไข่ สาวๆ ก็ควรพึงระวังด้วย

เพราะโรคมะเร็งรังไข่จะพบมากเป็นอันดับ 6 ของโรคมะเร็งในผู้หญิง และมีโอกาสเกิดโรคประมาณ 100,000 คนต่อปี โดยจะพบมากในช่วงอายุ 40-60 ปี แต่ในเด็กวัยก่อนหรือหลังวัย 10 ปีก็อาจจะพบได้เช่นกัน

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งรังไข่

ปัจจุบันข้อมูลทางการแพทย์ยังไม่มีการระบุที่แน่ชัด แต่สาเหตุเสริมที่มีผลทำให้เกิดโรคได้คือ

  1. สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร และพบว่าในประเทศอุตสาหกรรมมีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
  2. สตรีผู้ที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
  3. ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก และระบบทางเดินอาหาร จะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนปกติ
  4. พันธุกรรม โดยเฉพาะคนที่มีญาติสายตรงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่ต้องระวัง

อาการของโรคมะเร็งรังไข่

โดยมากผู้ป่วยจะพบว่าเป็นโรคมะเร็งรังไข่ก็เมื่อเป็นระยะมากแล้ว เพราะจะไม่ค่อยมีอาการแสดงของโรคให้เห็นเด่นชัด แพทย์อาจจะตรวจพบได้โดยบังเอิญ แต่ให้เห็นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอและหากมีอาการเหล่านี้ ให้สงสัยไว้ก่อน

  1. มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
  2. มีก้อนในท้องน้อย
  3. ปวด แน่นท้อง และถ้าก้อนมะเร็งโตมากจะกดกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลาย ทำให้ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก
  4. เมื่อเซลล์มะเร็งกระจาย อาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโตขึ้นกว่าเดิม
  5. เบื่ออาหารน้ำหนักลด

การวินิจฉัยและตรวจหาโรคมะเร็งรังไข่

  1. การตรวจภายในอาจคลำพบก้อนในบริเวณท้องน้อย โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือนหากคลำพบก้อนรังไข่ให้สงสัยไว้ก่อน เพราะปกติวัยหมดประจำเดือนรังไข่จะฝ่อ
  2. การทำแพพสเมียร์จากในช่องคลอด ส่วนบนทางด้านหลัง อาจพบเซลล์มะเร็งของรังไข่ได้
  3. การตรวจด้วย เครื่องความถี่สูงอาจช่วยบอกได้ว่ามีก้อนในท้อง ในรายที่อ้วนหรือหน้าท้อง หนามาก คลำด้วยมือตามปกติตรวจไม่พบ
  4. การผ่าตัดเปิดช่องท้อง วิธีนี้เป็นการวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด สามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจชนิดของมะเร็ง และทราบถึงระยะของโรคด้วย
มะเร็งรังไข่ 2

ระยะของโรคโดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 ระยะคือ

  1. เซลล์มะเร็งอยู่ในรังไข่
  2. เซลล์มะเร็งกระจายไปสู่อวัยวะในอุ้งเชิงกราน
  3. เซลล์มะเร็งกระจายไปในช่องท้อง
  4. เซลล์มะเร็งกระจายไปที่ตับ หรืออวัยวะอื่นๆ

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่

โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการผ่าตัดเป็นวิธีแรกทำการรักษา แพทย์จะตัดออกให้ได้มากที่สุด ต่อมาจะรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด

การป้องกันโรคมะเร็งรังไข่

เนื่องจากโรคนี้ไม่ค่อยแสดงอาการ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอ วิธีที่ดีที่สุดคือ รับการตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นความ ถี่สูง โดยแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

ผลิตภัณฑ์ประกันแนะนำ

ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ My Care Easy Health

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 9,378 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองสูงสุด: 5,000,000 บาท/ปี
  • ผู้ป่วยใน: เหมาจ่ายตามจริง
  • ผู้ป่วยนอก: –
  • ค่าห้อง : ห้องพักเดี่ยวมาตรฐาน
ดูรายละเอียด
ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ My Care Prestige

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 18,611 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองสูงสุด: 100,000,000 บาท/ปี
  • ผู้ป่วยใน: เหมาจ่ายตามจริง
  • ผู้ป่วยนอก: ซื้อเพิ่มได้
  • ค่าห้องสูงสุด: 25,000 บาท
ดูรายละเอียด
ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ My Care Saver

ค่าเบี้ยเริ่มต้น 5,940 บาท ต่อปี

  • คุ้มครองสูงสุด: 300,000 บาท/ปี
  • ผู้ป่วยใน: ไม่เกิน 50,000 บาท/ต่อครั้ง
  • ผู้ป่วยนอก: –
  • ค่าห้องสูงสุด : ตามจริง
ดูรายละเอียด

ประกันมะเร็งทิสโก้ดีอย่างไร

  • คุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ
  • รับเงินก้อน 100% ของทุนประกันที่ทำไว้เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง
  • วงเงินค่ารักษาสูงสุด 1 ล้านบาท
  • ค่าเบี้ยคงที่ไม่ปรับเพิ่มตามช่วงอายุ
  • ชดเชยค่าตรวจวินิจฉัยซ้ำโรคมะเร็ง และค่าเดินทางไปรักษาตัวสำหรับโรคมะเร็ง

ด้วยแผนความคุ้มครองที่หลากหลายและความยืดหยุ่นในการเลือกตามความต้องการของคุณ ประกันมะเร็งทิสโก้จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มความมั่นใจและความปลอดภัยในการดูแลสุขภาพของคุณและครอบครัว สำหรับท่านใดที่สนใจประกันมะเร็ง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

 

แชร์บทความนี้