เมาแล้วขับโดนโทษตามกฎหมายอะไรบ้าง

โทษเมาแล้วขับ

เมาแล้วขับ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยมากบนท้องถนนเป็นลำดับต้นๆในไทย มีตั้งแต่การเกิดการบาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย รวมถึงการเสียชีวิต ดังนั้นจึงมีกฎหมายเมาแล้วขับ”  “ดื่มไม่ขับ” เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยต่อตนเอง และเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน

 

ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเท่าไหร่ จึงถือว่าเมา แบ่งเป็น 2 แบบคือ

1.ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ “ถือว่าต้องโทษเมาแล้วขับ” สำหรับผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ. 2550 ออกความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็น “ผู้เมาสุรา”

2.ถ้าเมาแล้วขับ กรณีมีใบขับขี่ อายุ 5 ปี และใบขับขี่ตลอดชีพ อายุเกิน 20 ปี ต้องมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ “ถือว่าต้องโทษเมาแล้วขับ” มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน

  • จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “บาดเจ็บสาหัส”

  • จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี

เมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่น “ถึงแก่ความตาย” 

  • จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที

กรณีที่ 1 : เป่าแอลกอฮอล์แล้วพบว่า ปริมาณแอลกอฮอล์เกินกำหนด ถือว่า “เมาแล้วขับ” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตามปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด) และถูกศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ (มาตรา 160 ตรี)

กรณีที่ 2 : หากไม่เป่าแอลกอฮอล์ จะถือว่า “เมาแล้วขับ” ทันที ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ (มาตรา 160 ตรี)

กรณีที่ 3 : เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

กรณีที่ 4 : เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย บาดเจ็บสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท และถูกศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

กรณีที่ 5 : เมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี ปรับ 60,000-200,000 บาท ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

กรณีที่ 6 : ผู้ขับขี่ที่กระทำผิดซ้ำข้อหาเมาแล้วขับ หากทำผิดซ้ำภายใน 2 ปี นับแต่วันแรกที่กระทำความผิด จะเพิ่มอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับ 50,000-100,000 บาท ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

เมาแล้วขับรถ

เมาแล้วขับ หากเกิดอุบัติเหตุประกันรถยนต์เคลมประกันให้ไหม

แบ่งออกเป็น 2 แนวทางเนื่องจาก ประกันรถยนต์มีทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 2+ และประกันชั้น 3+) แต่ละประเภทมีเงื่อนไขในการคุ้มครองที่แตกต่างกัน หากท่านยังสงสัยว่าชั้นประกันแต่ละชั้นท่านจะเลือกประกันชั้นไหนดีสามารถสอบถาม

กรณที่ 1 

พ.ร.บ.รถยนต์ คือคุ้มครองผู้เอาประกันรถยนต์และคู่กรณี โดยไม่พิสูจน์ความถูกหรือผิด ซึ่งจ่ายเป็นค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของผู้เอาประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ จะไม่คุ้มครอง

กรณีที่ 2 

ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ประกันรถยนต์จะคุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและฝ่ายเสียหาย แต่ถ้าแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองผู้เอาประกัน แม้จะซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่มีเบี้ยสูงสุดก็ตาม

แม้บางคนคิดว่า มีเงินจ่ายค่าปรับตามกฎหมายในกรณีที่เมาแล้วขับ แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับตนเอง และยังสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นบนท้องถนน ร้ายแรงที่สุดอาจทำให้ผู้อื่นพิการหรือเสียชีวิตได้ ทางที่ดีที่สุดคือ ดื่มไม่ขับ ช่วยลดอุบัติเหตุและความปลอดภัยบนท้องถนน

แชร์บทความนี้